วันอาทิตย์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2556

ประวัติชุดนักศึกษากับปัญหาชุดนักศึกษาในปัจจุบัน



ชุดนักศึกษาไทยกับสังคมที่เปลี่ยนไป

     ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ดูเหมือนสังคมไทยจะมีความตื่นตัวมากขึ้นต่อระบบการศึกษาในประเทศ ตั้งแต่เรื่องเนื้อหาแบบเรียน ไปจนถึงเรื่องกฎระเบียบ สังคมไทยเองก็มีการรับรู้และกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้อย่างมาก อาจเพราะด้วยยุคข้อมูลข่าวสารที่รวดเร็ว ทำให้ประเด็นเล็กๆสามารถถูกจุดให้ติดได้และลุกลามดังไฟทุ่ง
ประเด็นที่ร้อนแรงที่สุดตอนนี้คงหนีไม่พ้นประเด็นชุดนักเรียน-นักศึกษา ที่มีการถกเถียงกันมากมายระหว่างฝั่งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย บทความนี้แปลและเรียบเรียงขึ้นจากส่วนหนึ่งในเปเปอร์ของผู้เขียนเรื่อง School Uniform in Thailand; comparing to British and American เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ที่มาของชุดนักเรียนในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่หลายคนมักอ้างถึงเป็นประจำเพื่อเปรียบเทียบและเพื่อให้เห็นการพัฒนาการ ของสังคม ที่อำนาจผ่านกฎระเบียบพยายามเข้าแทรกซึมผ่านเครื่องแบบในระบบการศึกษา



ประวัติความเป็นมาของชุดนักศึกษาไทย


           จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย  ถือกำเนิดจากสำนักฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จัดตั้งเมื่อ พ.ศ. 2442 ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนมหาดเล็กเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2445 หลังเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติเพียง 52 วัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษา พระราชทานนามว่า โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2453  หลังจากได้พัฒนามาตราฐานการศึกษา ให้ดีขึ้นในระดับหนึ่ง   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐานขึ้นเป็น  " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " ให้เกิดขึ้นตามพระราชปรารถนา ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ให้มีมหาวิทยาลัยในเมืองไทยในรัชสมัยของพระองค์ และเป็นการเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชชนกของพระองค์    เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459จึงได้มีการกำหนดเครื่องแบบการแต่งกายดังนี้
   






             ในปีถัดมารัฐบาลได้กำหนดให้นิสิต นักศึกษา แต่งเครื่องแบบ นักศึกษาวิชาทหารมาเรียนทุกวัน ทางสโมสรจึงได้แย้งว่าจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มีเครื่องแบบพระราชทานอยู่แล้ว จึงไม่ควรต้องมีเครื่องแบบ อื่นอีก แต่ทางราชการก็อ้างว่าเครื่องแบบพระราชทานใช้ประมาณปีละ 3 ครั้ง คือ วันพระราชทานปริญญาบัตร วันปิยมหาราช และวันวชิราวุธ นิสิตนักศึกษาจึงต้องแต่งเครื่องแบบมาเรียนเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย จึงเป็นเหตุให้สโมสรนิสิตกำหนดเครื่องแบบจุฬานิยมนี้ขึ้น ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกคำสั่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ 71/2507 ว่าด้วยเครื่องแบบนิสิตชาย และนิสิตหญิง สั่ง ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2507 ให้เครื่องแบบจุฬานิยมเป็นเครื่องแบบนิสิตชาย แต่ให้เพิ่มการใช้เนคไทสีกรมท่าปักพระเกี้ยวในเวลามีงานสำคัญ ซึ่งใช้แต่ ในพิธีซึ่งทางราชการกำหนด




         

ประวัติข้อถกเถียง  จนมาถึงแนวความคิดของเด็กไทยในปัจจุบัน



ข้อถกเถียงและข้อโต้แย้ง
           ข้อถกเถียงเรื่องเครื่องแบบนักเรียนในสหรัฐอเมริกาเริ่มมีขึ้นในราวปี 1980 โดยมีการยกเหตุผลว่าการมีเครื่องแบบนักเรียนนั้นเป็นการลิดรอนกักกันความคิดแบบปัจเจกและเสรีภาพในการแสดงออก ถึงแม้ว่าฝ่ายสนับสนุนจะยกเหตุผลว่าการมีอยู่ของเครื่องแบบนั้นจะทำให้ผู้ปกครองและตัวนักเรียนลดแรงกดดันจากค่านิยมแฟชั่นและเป็นการประหยัดเงินในการหาซื้อเสื้อผ้าใหม่ๆ   ฝ่ายที่สนับสนุนการใช้เครื่องแบบนั้นอ้างว่าการใส่เครื่องแบบ จะทำให้ผู้เรียนสนใจกับการเรียนมากกว่ามัวแต่สนใจชุดที่ใส่ และการทำงานเมื่อเรียนจบหลายแห่งก็มีเครื่องแบบของบริษัทที่บังคับ การมีเครื่องแบบก็จะทำให้นักเรียนได้เตรียมตัวไปสู่การทำงานในอนาคต ทั้งนี้ความสำคัญของเครื่องแบบอีกอย่างหนึ่งคือมันจะทำให้ความรุนแรงในสังคมลดลงไปด้วย เช่นกลุ่มอันธพาลก็จะไม่สามารถแยกแยะเด็กออกได้ว่าอยู่กลุ่มที่เป็นอริกัน (ในอเมริกานั้นกลุ่มแก๊งค์จะมีชุดเสื้อผ้าประจำกลุ่ม)     อย่างไรก็ดี ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการใส่ชุดนักเรียนนั้นให้เหตุผลว่า มันเป็นการละเมิดเสรีภาพในการแสดงออกและสิทธิเหนือร่างกายของเด็กที่จะเลือกว่าสิ่งไหนเหมาะสมและน่าสนใจต่อเขา ทั้งนี้การต้องซื้อเครื่องแบบนักเรียนหาใช่การประหยัดไม่ หากแต่เป็นการเพิ่มภาระโดยใช่เหตุ โดยเฉพาะกับครอบครัวที่มีลูกหลายคน การอ้างเรื่องลดความรุนแรงของกลุ่มอันธพาลนั้นก็เหลวไหล เพราะไม่ว่าจะมีหรือไม่มีเครื่องแบบนั้น อันธพาลก็พร้อมที่จะทำร้ายหรือใช้ความรุนแรงได้ทุกเมื่ออยู่ดีจะเห็นได้ชัดว่าหากมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย ข้อถกเถียงเหล่านี้ ก็ยังคงวนเวียนอยู่ในหน้าสื่อสังคมออนไลน์ทุกวัน หากแต่จะมีเรื่องเกียรติศักดิ์ศรีพ่วงท้ายเข้ามาด้วย ฝ่ายสนับสนุนมักยกประเด็นชุดนักเรียน-นักศึกษาพระราชทาน หรือความภาคภูมิใจต่อสถาบันการศึกษา โดยที่ไม่สนใจประเด็นสากลอย่างสิทธิเสรีภาพเหนือร่างกาย และการแสดงออก ประเด็นเรื่องค่าใช้จ่ายก็เป็นที่ถกเถียงกันมาอย่างยาวนาน โดยฝ่ายสนับสนุนมักจะเป็นบุคคลจำพวกที่ไม่เดือดเนื้อร้อนกระเป๋าต่อค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งเครื่องแบบอันมีเกียรติ แต่ไม่เคยนึกถึงอีกหลายคนที่เดือดร้อนต่อภาระนี้ ดังจะเห็นได้จากข่าวที่ผู้ปกครองหลายคนแห่กันเข้าโรงรับจำนำในช่วงก่อนเปิดเทอม เพื่อหาซื้ออุปกรณ์และชุดเครื่องแบบให้ลูกหลาน
        การถกเถียงเรื่องการมีอยู่ของเครื่องแบบนักเรียนนั้นมีมาอย่างต่อเนื่องทั้งในสหรัฐอเมริกาและไทย มันได้ก้าวล่วงและส่งผลสะเทือนตั้งแต่ปัญหาความปลอดภัยของเด็กไปจนถึงเรื่องเสรีภาพส่วนบุคคล ประเด็นสิทธิและสาธารณประโยชน์ถูกยกมาถกเถียงกันมากที่สุดในสหรัฐฯ ต่างจากในไทยที่มักยกเรื่องเกียรติภูมิและความภาคภูมิใจที่ฟังดูเป็นเรื่องที่ตื้นเขินพอสมควรมาเป็นประเด็นหลักของฝ่ายสนับสนุน

!!!กรณีใหญ่ในสังคม  เกี่ยวกับนักศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ที่ ออกมาแสดงทัศนคติต่อ ชุดนักศึกษา



          เราต้องย่อมรับกันว่าในปัจจุบันแนวคิดของเยาวชนไทยเปิดก้าวและมีเสรีภาพมากขึ้้น สังเกตได้จากการเปิดในคนในสังคมแสดงความคิดเห็นของตนเองในโลกออนไลด์ได้และทุกคนสามารถรับรู้ได้ ก็จะสอดคลอดกับมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งที่เปรียบดังเป็นพื้นที่แห่งโลกเสรีภาพ และเป็นต้นแบบของเรื่องเสรีภาพ อิสรภาพ และภราดรภาพ ของประเทศไทย จนกระทั่งเกิดกรณี  นักศึกษาสาวประเภท 2 ที่นาม ว่า อั้ม เนโกะโผล่รับ! ต้นคิดโปสเตอร์ฉาวต้านชุดนักศึกษา ถือว่าเป็นที่เรื่องที่นักศึกษาในประเทศและนักวิชาการออกมาแสดงความคิดเห็นต่างๆ มากมาย และเป็นการสะท้อนความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปของสังคมไทย  กระผมมีความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่มากเช่นเดียวกัน  กระผมคิดว่าการต่อต้านการใส่ชุดนักศึกษาหรือ เครื่องแบบในชุดนักศึกษา ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่อาจะไม่ผิด แต่มันก็ไม่เหมาะสมอย่างมาก  เนื่องจากทัศนคติทางความคิดของกระผมมองว่า  การที่อาชีพทุกอาชีพในสังคมไทย มีการกำหนดให้มีเครื่องแบบเครื่องแต่งกาย ทั้ง ตำรวจ  คุณครู  ทหาร ล้วนแต่มีเครื่องแบบ เพราะถือว่าเครื่องแบบเป็นการแสดงถึง สถานภาพ และบทบาทของสังคม  เพราะหากเราลองคิดว่าไม่มีเครื่องแบบไม่มีในการแต่งการตามที่กำหนด เราจะมีการแยกแยะออกไหมว่า  ใครทำอาชีพอะไร  ใครเป็นโจร  ใครเป็นตำรวจ  ใครเป็นทหาร ใครเป็รข้าศึก  เพราะฉะนั้นการที่มีเครื่องแบบในชุดนักศึกษานั้น ถือได้ว่า เป็นการแสดงให้เห็นถึง  อาชีพของนักศึกษา คือเป็นผู้เรียนรู้ในการศึกษา  เสื้อสีขาว เป็นการแสดงถึง ความรู้อันบริสุทธิ์ของผู้เรียน  หากชุดสีขาวของเราเก่า หรือเปื้อนก็แสดงว่าเรามีความรู้และประสบการณืเพิ่มขึ้้น   หากเรามีชุดนักศึกษาสวมใส่ ก็จะเป็นการแสดงถึงบทบาทของเราที่เป็นเยาวชนแห่งการศึกษาที่จะพัฒนาชาติในอนาคตต่อไป  คุณอาจจะคิดว่าชุดนักศึกษาไม่ได้ช่วยให้เรียนไม่ดี หรือเรียนดี แต่ชุดนักศึกษาช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคุณได้  กระผมเชื่อแบบนี้มาตลอด  คนทุกคนไม่ว่าจะรวยจะจน  จะมาจากตระกูลผู้ดี หรือ ตระกูลของคนไม่ดังไม่รวย  ก็ต้องมาอยูู่ในความเสมอภาคอย่างหนึ่ง ด้วยกัน คือการแต่งกายชุดเครื่องแบบที่เหมือนกัน  ดังที่ สมเก็จพ่อ รัชกาลที่ 5 ได้กล่าว ว่า




        กระผมจึงมีทัศนคติ ในเรื่องชุดเครื่่องแบบของนักศึกษาไทย ไปในทางเดียวกับผลสำรวจของนักศึกษาพี่น้องชาวไทยของผม ที่เห็นว่าชุดนักศึกษาคือสิ่งที่ดี  ที่เหมาะสมต่อเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ และ กระผมเห็นว่า การใส่ชุดนักศึกษา เป็นสิ่งที่กระผมภาคภูมิใจเป็นอย่างมาก และในฐานะที่กระผมเป็นนักศึกษาครู  ที่จะเป็นคุณครูในอนาคต กระผมก็อยากจะสะท้อนความคิดในเรื่องการแต่งการให้แก่นักเรียนของกระผม กระผมจะแนะนำการแต่งกายที่ถูกต้อง และอธิบายถึงความสำคัญของเครื่องแบบนักศึกษา  นักเรียน ต่อผู้เรียนคือ ลูกศิษย์ของผมฟัง เพื่อผู้เรียนจะนำไปคิดและถ่ายทอดความรู้ และ เห็นคุณค่าของเครื่องแบบต่อไป  ซึงอาจจะขยายไปอีกไกลก็เป็นได้  
          สุดท้้ายกระผมก็อยากจะฝากบทกลอนไว้เตือนใจสำหรับ  สาวประเภท 2 คนนั้นในเรื่่องนี้ รวมถึงคนที่มีแนวความคิดแบบนี้  กระผมไม่ได้มีเจตนาที่กล่าวว่า แต่กระผมเชื่อว่าท่านมีความคิด มีปัญญา น่าจะคิดเรื่องนี้ได้ ขอให้เป็นเช่นนั้น




ไว้เจอกัน บทความต่อไปนะครับ........ผมรักประเทศไทย (นามปากกา.. ต้นนำ...)


เอกสารอ้างอิง


                      นักศึกษารุ่นใหม่หัวใจแฟชั่น (2556). ประวัติเครืองแบบนักศึกษา (ออนไลน์). สืบค้นจาก  https://sites.google.com/site/universitypopular/mhawithyalay-culalngkrn/saylaksn-          mhawithyalay/prawatisastr-chud-nisit [30 กันยายน 2556

        สำนักข่าวอิศรา (2556). โปสเตอร์ร่วมเพศ" แผลงฤทธิ์ "ธรรมศาสตร์"สั่งเลิกบังคับใส่ชุด"นศ."เข้า       เรียน(ออนไลน์). สืบค้นจาก http://www.isranews.org/ [30 กันยายน 2556